ตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษี ต้องตรวจเช็คอะไรบ้าง?

June 8, 2024


   การตรวจสภาพรถ เพื่อต่อภาษีรถยนต์นั้น มีไว้สำหรับรถที่มีอายุการใช้งานเป็นระยะเวลาครบตามที่ พรบ.กำหนด ควรนำรถเข้ารับการตรวจสภาพก่อนต่อภาษีรถยนต์ iถที่เข้าเกณฑ์การตรวจสภาพก่อนเสียภาษีประจำปีจึงสรุปรายการได้ ดังนี้

- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป

- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป

- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป

-รถจักรยานยนต์ ที่มีอายุใช้งานครบ 5 ปี ขึ้นไป


   การตรวจสภาพรถ เพื่อต่อภาษีรถยนต์นั้นเพื่อเป็นการรับรองว่ารถยนต์หรือรถจักรยานยนต์นั้น ๆ ยังมีสภาพที่พร้อมใช้งานตามระเบียบข้อบังคับของกรมการขนส่ง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนและเพื่อสร้างความปลอดภัยในการขับขี่มากยิ่งขึ้น โดยผู้ขับขี่จะต้องนำใบรับรองการตรวจสภาพรถไปยื่นเป็นหลักฐานเพื่อทำการต่อภาษีประจำปีทุกครั้ง


   สถานที่ที่สามารถไปตรวจสภาพรถได้มีอยู่ 2 แห่งนั่นก็คือ


• สถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ. เป็นสถานที่ที่ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่งให้มีความสามารถในการตรวจสอบสภาพรถก่อนจะนำไปยื่นต่อภาษี ซึ่งผู้ขับขี่สามารถนำรถประเภทต่าง ๆ เข้าไปตรวจสภาพได้ในกรณีที่ไม่สะดวกนำรถไปตรวจตามกรมขนส่งประจำจังหวัด

• กรมการขนส่งทางบก สำหรับรถบางประเภทที่ไม่สามารถนำมาตรวจสภาพกับตรอ.ได้แต่ต้องนำไปตรวจที่ กรมการขนส่งทางบกเท่านั้น


ตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษี ต้องตรวจเช็คอะไรบ้าง?


   การตรวจสภาพรถนั้น จะตรวจทั้งสภาพภายนอกและภายในของรถ รวมถึงสมรรถนะขององค์ประกอบรถส่วนต่าง ๆ โดยมีรายละเอียด 9 ขั้นตอนการตรวจสอบ ดังนี้


    1. ตรวจความถูกต้องของข้อมูล
เพื่อเช็คว่ารถที่นำมาตรวจนั้นตรงกับข้อมูลในทะเบียนรถหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็น ประเภทของรถ ลักษณะรถ สีรถ ป้ายทะเบียน หมายเลขตัวถังเครื่องยนต์ ชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้ ซึ่งถ้าหากพบว่า แผ่นป้ายทะเบียนชำรุดหรือสูญหาย หมายเลขเครื่องยนต์ลบเลือน ถูกขูด ลบจนไม่สามารถตรวจสอบได้ หรือมีการแก้ไขดัดแปลงส่วนประกอบของรถให้ต่างไปจากรายละเอียดที่จดไว้ในเล่มทะเบียน ทางตรอ.หรือกรมการขนส่งทางบกสามารถระงับการตรวจสภาพได้ทันที


    2. ตรวจสภาพตัวรถทั้งภายนอก ภายในและใต้ท้องรถ
การตรวจเช็คภายในรถจะดูตั้งแต่พวงมาลัย ระบบบังคับเลี้ยว ไฟสัญญาณ แตร ที่ปัดน้ำฝน กระจกกันลมทั้งหน้าและหลัง กระจกมองหลัง ที่นั่งผู้ขับและผู้โดยสาร เข็มขัดนิรภัย ระบบไฟฟ้าและมาตรวัด การตรวจภายนอกรถ เป็นการตรวจของ สีรถ ไฟเลี้ยว ไฟหรี่ ไฟท้าย ไฟเบรคและไฟอื่นๆ กันชนหน้าและท้าย โครงสร้างตัวถัง บังโคลน ล้อรถและยาง ประตู และกระจกข้าง การตรวจใต้ท้องรถ จะเป็นการตรวจกลไกบังคับเลี้ยว สปริง โช๊คอัพ โครงสร้างตัวถัง คลัทช์ เกียร์ เพลากลาง เฟืองท้าย ระบบไอเสีย ระบบเชื้อเพลิง ระบบรองรับน้ำหนัก และระบบกำลังส่งเป็นต้น


    3. ทดสอบศูนย์ล้อหน้า
ทำการตรวจโดยการขับรถตรงผ่านเครื่องทดสอบ ด้วยความเร็วประมาณ 3-5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จากนั้นทำการปล่อยมือจากพวงมาลัย ซึ่งค่าเบี่ยงเบนของล้อที่เกิดขึ้นในขณะปล่อยมือจะต้องไม่เกิน 5 เมตรต่อกิโลเมตร


    4. ทดสอบระบบเบรก
เพื่อตรวจประสิทธิภาพการเบรกว่ายังสามารถทำงานได้ดีอยู่หรือไม่ โดยทำการทดสอบบนลูกกลิ้งดังรูปด้านล่างนี้ เพื่อวัดประสิทธิภาพการเบรกของล้อแต่ละข้าง โดยค่อยๆเหยียบเบรกไปเรื่อยๆ จนถึงแรงเบรกสูงสุด ซึ่งผลที่อยู่ในเกณฑ์ที่ผ่านได้มีดังนี้
- เบรกมือ ต้องมีแรงห้ามล้อทุกล้อรวมกันไม่น้อยกว่า 20% ของน้ำหนักรถ
- เบรกเท้า ต้องมีแรงห้ามล้อทุกล้อรวมกันไม่น้อยกว่า 50% ของน้ำหนักรถ
- ผลต่างของแรงเบรกของล้อซ้ายและขวาต้องไม่เกิน 25% ของแรงห้ามล้อสูงสุด


    5. ตรวจวัดโคมไฟหน้ารถ
เพื่อตรวจสอบว่ามีค่าเบี่ยงเบนแสงและความเข้มข้นของแสงเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ โดยพินิจสภาพ จำนวน สีของแสง ตรวจวัดระยะการติดตั้งของโคมไฟและทดสอบการทำงานของโคมไฟโดยการเปิดสวิตช์ โดยควรตรวจตอนที่รถไม่มีการบรรทุกของใดๆมาด้วยเพื่อให้การตรวจไฟมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น


    6. ตรวจวัดคาร์บอนมอนอกไซด์(Co) และไฮโดรคาร์บอน (Hc)
เพื่อเป็นการวัดว่ารถมีการปล่อยก๊าซดังกล่าวเกินในปริมาณที่กำหนดหรือไม่ ซึ่งโดยทั่วไปค่าเฉลี่ยการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโรคาร์บอนขึ้นอยู่กับปีที่จดทะเบียนรถ แบ่งได้ดังนี้
- รถยนต์ที่จดทะเบียนก่อน 1 ม.ค.2550 ต้องมีค่าปริมาณการปล่อยก๊าซ Co ไม่เกินร้อยละ 4.5 และก๊าซ Hc ไม่เกิน 600 ส่วนในล้านส่วน
- รถยนต์ที่จดทะเบียนตั้งแต่ 1 ม.ค. 2550 ถึง 31 ธ.ค. 2556 ต้องมีค่าปริมาณการปล่อยก๊าซ Co ไม่เกินร้อยละ 0.5 และก๊าซ Hc ไม่เกิน 100 ส่วนในล้านส่วน
- รถยนต์ที่จดทะเบียนตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557 เป็นต้นไป ต้องมีค่าปริมาณการปล่อยก๊าซ Co ไม่เกินร้อยละ 0.3 และก๊าซ Hc ไม่เกิน 100 ส่วนในล้านส่วน


    7. ตรวจวัดค่าควันดำ
โดยการเร่งเครื่องยนต์จนสุดคันเร่งในเกียร์ว่างและปิดระบบปรับอากาศ โดยการตรวจวัดค่าควันดำด้วยระบบความทึบแสงขณะเครื่องยนต์ไม่มีภาระ ต้องมีค่าควันดำสูงสุดไม่เกินร้อยละ 30 และการตรวจโดยใช้กระดาษกรองค่าควันดำ (Filter) ขณะเครื่องยนต์ไม่มีภาระ ต้องมีค่าควันดำสูงสุดไม่เกินร้อยละ 40


    8. ตรวจวัดระดับเสียงจากท่อไอเสีย
ซึ่งระดับเสียงของเครื่องยนต์ที่กำหนดไว้ต้องดังไม่เกิน 100 เดซิเบล เอ จึงจะถือว่าผ่านมาตรฐาน


    9. รอรับผล
หลังจากทำการตรวจสภาพรถเสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะพิมพ์ผลรายงานการตรวจให้ทางเจ้าของรถ ในกรณีที่รถผ่านเกณฑ์ครบถ้วน ท่านสามารถนำใบรับรองนี้ไปยื่นต่อภาษีรถได้เลย แต่ถ้าหากไม่ผ่าน เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ทราบถึงข้อบกพร่องและปัญหาที่เกิดขึ้นกับรถ ซึ่งท่านสามารถไปซ่อมแซมในส่วนนั้นๆ และนำกลับมาตรวจใหม่อีกครั้งที่สถานที่เดิมภายใน 15 วันจะเสียค่าธรรมเนียมเพียงครึ่งหนึ่งของอัตราค่าบริการ แต่ถ้าหากนานกว่านั้นก็ต้องจ่ายค่าบริการเต็มอัตรา
#เช็คระยะ #เช็คระยะรถ #เช็คระยะรถยนต์ #เช็คระยะที่ค็อกพิท #เช็คระยะราคา #โปรเช็คระยะ



 นอกจากตรวจสภาพรถเพื่อต่อภาษีแล้ว ถึงแม้จะเป็นรถใหม่อยู่ ก็ควรนำรถเข้าศูนย์บริการเช็คระยะ ตามที่คู่มือประจำรถกำหนดอยู่เสมอ


ตรวจเช็ครถ เช็คระยะ แวะมา ค็อกพิท ที่เดียวจบ บริการครบได้มาตรฐาน


 • เปลี่ยนยาง แนะนำการติดตั้งยางใหม่ที่ถูกต้องและเหมาะกับรถคุณ


 • สลับยาง ถ่วงล้อ สลับตำแหน่งยางเพื่อยืดอายุการใช้งาน และปรับน้ำหนักของล้อให้สมดุล


 • ตั้งศูนย์ล้อตรวจ วัด ปรับมุมล้อ ตามสเปคแต่ละรุ่น เพื่อให้การเข้าโค้งและการทรงตัวรถดีขึ้น


 • ปะซ่อมยางซ่อมแซมบริเวณหน้ายาง โดย ใช้วัสดุคุณภาพดี แข็งแรง ทนทาน


 • โปรแกรมตรวจเช็คระยะความปลอดภัยเบื้องต้นตรวจเช็คเบื้องต้นให้ฟรี พร้อมการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง รวดเร็ว ทันใจ


 • โปรแกรมตรวจเช็คระยะตรวจเช็คอย่างละเอียด 60 รายการ พร้อมบริการบำรุง รักษารถตามระยะทาง


 • เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องช่วยให้เครื่องยนต์สะอาด ลด การสึกหรอ และหล่อลื่นการ ทำงานของชิ้นส่วนต่างๆ


 • เปลี่ยนแบตเตอรี่ แบตเตอรี่คุณภาพดีสำหรับรถทุกรุ่น เพื่อการใช้งานที่ ต่อเนื่องไม่ติดขัด


 • เปลี่ยนผ้าเบรคป้องกันการเสื่อมสภาพของ น้ำมันเบรค ที่จะส่งผลให้ ประสิทธิภาพในการเบรคลดลง


 • เปลี่ยนโช๊คอัพเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะ ถนน ขับขี่นุ่มนวลขึ้น


 • เติมลมไนโตรเจนลดความถี่ในการเติมลมยางเสียงเงียบ ยางเกาะถนนได้ดี ให้การขับขี่นุ่มนวลขึ้น


 • เปลี่ยนใบปัดน้ำฝน เพิ่มทัศนวิสัยในการขับขี่จากน้ำและฝุ่นละอองต่างๆ


 • เปลี่ยนถ่ายสารหล่อลื่น และของเหลวต่างๆรักษาการทำงานของชิ้นส่วนต่างๆให้ไหลลื่นมีประสิทธิภาพ


 เปลี่ยนไส้กรองต่างๆ ดักฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกสำหรับเครื่องยนต์และห้องโดยสาร


    รู้หรือไม่ หากผู้ขับขี่ไม่นำรถเข้ารับตรวจสภาพรถ เช็คระยะ ผู้ขับขี่จะไม่สามารถทราบได้เลยว่ารถที่เราใช้งานอยู่ทุกวันนั้น กำลังมีชิ้นส่วนไหนเสื่อมสภาพ หรือชิ้นไหนแตกหัก เสียหายอยู่ กว่าจะรู้ก็กลายเป็นปัญหาใหญ่แล้ว และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงมากเกินความจำเป็นอีกด้วย
#เช็คระยะ #เช็คระยะรถ #เช็คระยะรถยนต์ #เช็คระยะที่ค็อกพิท #เช็คระยะราคา #โปรเช็คระยะ





เกร็ดความรู้ เพิ่มเติม 


   ทั้งฝนทั้งฝุ่น อย่าปล่อยทิ้งให้คราบเกรอะฝุ่นเกาะนาน ๆ เพราะอาจทำให้สีรถดูซีดดูเก่าเร็วขึ้นได้ วันนี้เราเลยรวบรวมทริคทำความสะอาดรถง่าย ๆ สามารถทำเองได้ที่บ้าน เพียงไม่กี่ขั้นตอน รถก็กลับมาใหม่อีกครั้ง สามารถติดตามอ่านต่อได้ที่บทความ "ทั้งฝนทั้งฝุ่น มาทำความสะอาดรถให้กลับมาใหม่อีกครั้งกัน”



แวะมาเช็คระยะกับเรา ที่ ค็อกพิท (Cockpit) ปลอดภัยอุ่นใจทุกการเดินทาง ‘คุ้ม ครบ ไว อุ่นใจ ที่ ค็อกพิท’


  ที่ ค็อกพิท (Cockpit) เป็นศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจร มีเครื่องมือที่ทันสมัยและทีมช่างผู้ชำนาญงาน ที่จะช่วยดูแล ตรวจสภาพรถ เช็คระยะ ความปลอดภัย เบื้องต้น พร้อมตรวจสภาพรถ ที่ครอบคลุมชิ้นส่วนและอะไหล่สำคัญ ที่จะทำให้ผู้ใช้บริการอุ่นใจ และมั่นใจทุกครั้งเมื่อนำรถมาเข้ารับบริการตรวจสภาพรถ ซึ่งเราจะให้บริการด้วยเวลาที่เหมาะสมจากบริการที่รวดเร็ว ราคาที่เหมาะสม และคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดของผู้มาใช้บริการ
#เช็คระยะ #เช็คระยะรถ #เช็คระยะรถยนต์ #เช็คระยะที่ค็อกพิท #เช็คระยะราคา #โปรเช็คระยะ


ค้นหาศูนย์บริการใกล้บ้าน https://www.cockpit.co.th/stores
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม แบบคนกันเองได้ที่ Call center 1369
#คุ้มครบไวอุ่นใจที่ค็อกพิท







Reference
จะต่อภาษีรถยนต์ต้องรู้! ตรวจสภาพรถสำคัญอย่างไร
URL :
https://www.bridgestone.co.th/th/tire-clinic/drivers-essential/vehicle-checkup

Share