พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้แบตรถยนต์เสื่อมไว

September 20, 2024


  แบตเตอรี่รถยนต์เป็นอุปกรณ์สำคัญ ในการทำหน้าที่ป้อนกระแสไฟฟ้าให้กับระบบต่าง ๆ ภายในรถ หากไม่อยากเปลี่ยนแบตเตอรี่ก่อนเวลาอันควร ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการใช้รถ ดังต่อไปนี้ เพื่อช่วยให้แบตเตอรี่ของคุณจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เเละคงทนตลอดการใช้งาน


พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้แบตรถยนต์เสื่อมไว


  • ใช้น้ำเปล่าแทนน้ำกลั่นรถยนต์
การใช้น้ำเปล่าแทนน้ำกลั่นรถยนต์ เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง เนื่องจากน้ำดื่มหรือน้ำปะปา อาจมีความเป็นด่างและมีแร่ธาตุเจือปนอยู่มาก หากใช้น้ำเปล่าแทน อาจเข้าไปจะไปผสมกับของเหลวในแบตเตอรี่ ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดขึ้นภายในแบตเตอรี่ได้ และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแบตเตอรี่ลดลง และยังทำให้อายุการใช้งานสั้นลงอีกด้วย


  • ขับรถระยะสั้นบ่อย ๆ
การขับระยะไกลเป็นเวลานานทำให้แบตเตอรี่ทำงานหนักและเสื่อมเร็ว แต่ขณะเดียวกันการขับรถระยะสั้นบ่อย ๆ ก็ส่งผลให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพได้เร็วมากเช่นกัน เพราะการขับรถระยะสั้น จะทำให้แบตเตอรี่ไม่มีช่วงเวลาเพียงพอได้ชาร์จไฟ ส่งผลให้กำลังไฟหายไป หากเราทำซ้ำบ่อย ๆ หรือทุกวัน จะส่งผลให้แรงดันไฟฟ้าลดลงไป จนสุดท้ายแบตเตอรี่สูญเสียกำลังไฟ


  • จอดรถตากแดด
พฤติกรรมชอบจอดรถตากแดดในสภาพอากาศร้อนจัด จะไปเร่งการทำงานทางเคมีของแบตเตอรี่ ทำให้ของเหลวที่อยู่ในแบตเตอรี่อาจระเหยออกได้ ส่งผลให้โครงสร้างภายในของแบตเตอรี่เสียหาย จนกลายเป็นปัญหาที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพและมีอายุการใช้งานที่ลดลง


  • ไม่ดูแลน้ำกลั่นในแบตเตอรี่
สำหรับผู้ใช้รถที่ใช้แบตเตอรี่แบบน้ำ จำเป็นต้องเช็คระดับน้ำกลั่น และมีการเติมน้ำกลั่นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา หากผู้ใช้รถละเลยการดูแลส่วนนี้ ปล่อยให้แบตเตอรี่แห้ง จะส่งผลให้แบตเตอรี่เเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควรได้ 


  • สตาร์ทรถทิ้งไว้เป็นเวลานาน
สำหรับผู้ใช้ที่ชอบสตาร์ทเครื่องทิ้งไว้เป็นเวลานาน ๆ เพื่อไปทำธุระโดยไม่ดับเครื่อง หากทำบ่อย ๆ จะทำให้แบตเตอรี่ทำงานหนักเกินความจำเป็น และเป็นผลให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็วมากยิ่งขึ้น 


  • ไม่ได้ใช้งานรถเป็นเวลานาน
การจอดรถทิ้งไว้ ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานๆ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อมได้เร็วเช่นกัน เพราะถึงแม้ว่ารถจะไม่ได้ใช้งาน แต่แบตเตอรี่ไม่ได้หยุดทำงานตามไปด้วย อีกทั้งประจุไฟที่อยู่ในแบตเตอรี่จะหายไปตามกาลเวลา ส่งผลให้แบตเตอรี่เกิดการเสื่อมสภาพไปเรื่อย ๆ เมื่อผู้ใช้รถกลับมาใช้รถอีกครั้ง อาจทำให้เจอปัญหาแบตเตอรี่หมดจนสตาร์ทรถไม่ติดได้


  เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานรถ ก็สามารถช่วยดูแลแบตเตอรี่ ลดการเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่ก่อนเวลาอันควร ช่วยให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานที่ยาวยิ่งขึ้น
#แบตเตอรี่ GS #ราคาแบตเตอรี่ GS #รุ่นแบตเตอรี่ GS #เปลี่ยนแบตเตอรี่ GS #ร้านแบตเตอรี่ GS



   การเลือกแบตเตอรี่ที่เหมาะสมกับการใช้งานก็เป็นส่วนสำคัญต่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ และช่วยยืดอายุของแบตเตอรี่ได้เช่นกัน วันนี้ ค็อกพิท จะพาไปทำความรู้จักประเภทของแบตเตอรี่ GS ว่าแตกต่างกันอย่างไร ควรเลือกแบตเตอรี่ GS แบบไหนให้เหมาะกับรถของคุณ


เลือกแบตเตอรี่ GS อย่างไรให้เหมาะกับรถของคุณ?


  1. แบตเตอรี่ GS ประเภทแบบไม่เติมน้ำกลั่น (Maintenance Free)
แบตเตอรี่ GS ประเภทแบบไม่เติมน้ำกลั่น (Maintenance Free) แบตเตอรี่ประเภทพร้อมใช้ มีความอึดมั่นใจไม่ต้องดูแล กำลังไฟสตาร์ทสูง ดูแลง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นตลอดอายุการใช้งาน *การดูแลน้ำกลั่นขึ้นอยู่กับสภาพการใช้รถยนต์

แบตเตอรี่ GS ประเภทแบบไม่เติมน้ำกลั่น (MF) เหมาะสำหรับรถ?
เหมาะกับรถยนต์ใช้งานทั่วไป รถยนต์หรือรถกระบะใช้งานในเมือง ตัวอย่าง เช่น
• รุ่น แบตเตอรี่ GS BAGS MFX-60L - 50 
• รุ่น แบตเตอรี่ GS BAGS LN2-MF - 65


  2. แบตเตอรี่ GS ประเภทแบบไฮบริด (Extra Hybrid)
แบตเตอรี่ GS ประเภทแบบไฮบริด (Extra Hybrid) ลักษณะพิเศษของแบตเตอรี่ประเภทไฮบริด อึดทนทาน คุ้มค่าทุกการใช้งาน ผสมผสานเทคโนโลยีระหว่างแบตเตอรี่ Maintenance Free และ Conventional ไฟแรงเต็มพลัง ขับลุยได้ตลอดวัน เพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น ควรดูแลน้ำกลั่นทุก 3 เดือน

แบตเตอรี่ GS ประเภทแบบไฮบริด (HB) เหมาะสำหรับรถ?
เหมาะกับรถยนต์เชิงพาณิชย์หรือรถยนต์ใช้งานทั่วไป ตัวอย่าง เช่น
• รุ่น แบตเตอรี่ GS BAGS EXTRA 120L-DRY 80 


  3. แบตเตอรี่ GS ประเภทชนิดเติมน้ำกลั่น (Conventional)
แบตเตอรี่ GS ประเภทชนิดเติมน้ำกลั่น (Conventional) อึดยาวนาน ลุยงานหนัก ทนงานหนัก วิ่งทางไกลได้ดี เพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น ควรดูแลระดับน้ำกลั่นทุก 15 วัน

แบตเตอรี่ GS ประเภทชนิดเติมน้ำกลั่น (CV) เหมาะสำหรับรถ?
เหมาะกับกลุ่มรถใช้งานหนัก เช่น รถบรรทุกทั่วไป รถบัสปรับอากาศและรถไถทั่วไป เป็นต้น ตัวอย่าง เช่น
• รุ่น แบตเตอรี่ GS Conventional 


  4. แบตเตอรี่ GS ที่รองรับระบบ ISS
แบตเตอรี่ที่รองรับระบบ ISS มีความทนทาน ไฟแรง มาพร้อมกับ 3 คุณสมบัติเด่น เป็นแบตเตอรี่ที่มีโครงสร้าง Expansion grid รูปทรงไขว้บิดเกลียวช่วยให้จ่ายไฟได้เต็มประสิทธิภาพ ใช้ผงตะกั่วบริสุทธิ์จึงทนทานต่อการกัดกร่อน ทั้งยังให้กำลังไฟสูงและแผ่นกั้นแผ่นธาตุ PE ที่คิดค้นสูตรพิเศษลิขสิทธิ์เฉพาะ แบตเตอรี่ GS เท่านั้น จึงช่วยลดปัญหาขั้วแตกและยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ จึงเป็นรุ่นที่รองรับสำหรับการใช้งานระบบ ISS

แบตเตอรี่ GS ที่รองรับระบบ ISS เหมาะสำหรับรถ?
เหมาะกับกลุ่มรรถยนต์ที่ติดตั้งระบบ ISS ตัวอย่าง เช่น
รุ่น แบตเตอรี่ GS BAGS N-55-ISS - 55
#แบตเตอรี่ GS #ราคาแบตเตอรี่ GS #รุ่นแบตเตอรี่ GS #เปลี่ยนแบตเตอรี่ GS #ร้านแบตเตอรี่ GS




เกร็ดความรู้ เพิ่มเติม 


   รู้หรือไม่ แค่เลือกขนาดแอมป์แบตเตอรี่ให้ตรงตามรุ่นรถยนต์ของคุณ ก็สามารช่วยเพิ่มสมรรถนะเครื่องยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยยืดอายุระบบไฟได้ยาวนานยิ่งขึ้น สำหรับผู้ใช้รถเก๋ง ก็คงสงสัยว่ารถเก๋งที่คุณที่ใช้งานอยู่นั้น ใช้แบตเตอรี่ขนาดกี่แอมป์ หากต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่เลือกแบตเตอรี่ประเภทไหนดี ถึงจะเหมาะกับรถของคุณ วันนี้เรามีคำตอบ สามารถติดตามอ่านต่อได้ที่บทความ “รถเก๋งควรใช้แบตเตอรี่ขนาดกี่แอมป์ดี ?”



อยากเปลี่ยนแบตเตอรี่ GS แวะมาที่...ค็อกพิท (Cockpit) เราเป็นศูนย์บริการที่ตอบโจทย์ และเชี่ยวชาญเรื่อง แบตเตอรี่รถยนต์ ไม่ต่างจากร้านเปลี่ยนแบตรถยนต์โดยเฉพาะ


   เราเป็นศูนย์บริการรถยนต์ที่ตอบโจทย์ เชี่ยวชาญเรื่อง แบตเตอรี่รถยนต์ และให้บริการราคาแบตเตอรี่รถยนต์ ที่เหมาะสม ไม่ต่างจากร้านเปลี่ยนแบตรถยนต์โดยเฉพาะ และเรามีเครื่องมือที่ทันสมัยและทีมช่างผู้ชำนาญงาน ที่จะช่วยดูแลแบตเตอรี่รถยนต์ ตรวจเช็คความปลอดภัยเบื้องต้น พร้อมตรวจเช็คครอบคลุมชิ้นส่วนและอะไหล่สำคัญ ที่จะทำให้ผู้ใช้บริการอุ่นใจ และมั่นใจทุกครั้งเมื่อนำรถมาเข้ารับบริการซึ่งเราจะให้บริการด้วยเวลาที่เหมาะสมจากบริการที่รวดเร็ว ราคาที่เหมาะสม และคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดของผู้มาใช้บริการ
#แบตเตอรี่ GS #ราคาแบตเตอรี่ GS #รุ่นแบตเตอรี่ GS #เปลี่ยนแบตเตอรี่ GS #ร้านแบตเตอรี่ GS


ค้นหาศูนย์บริการใกล้บ้าน https://www.cockpit.co.th/stores
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม แบบคนกันเองได้ที่ Call center 1369
#คุ้มครบไวอุ่นใจที่ค็อกพิท







Reference
พฤติกรรมการดูแลเเบตเตอรี่ที่ผู้ใช้รถต้องรู้
URL :
https://pttlubricants.pttor.com/th/knowledge_bit_detail/6/141

Share