สินค้า & บริการ
พิมพ์หน้านี้บริการ
ยาง
การตั้งศูนย์ล้อ
คือ การปรับสภาพของระบบรองรับน้ำหนักให้กลับคืนสู่ค่ากำหนดของโรงงานผู้ผลิต เป็นวิธีการเดียวที่ใช้ปรับมุมช่วงล่าง เพื่อใช้การขับขี่และการบังคับพวงมาลัยเป็นไปอย่างถูกต้องที่สุด การตั้งศูนย์ล้อมีหลายวิธีแต่ถึงแม้ว่าจะตั้งด้วยวิธีใดก็ตามค่าหลังจากการปรับตั้งจะต้องได้มุมแคมเบอร์มุมแคสเตอร์ และมุมโทตามมาตรฐานที่รถแต่ละยี่ห้อกำหนดทั้งหมด
การถ่วงล้อ
เป็นขั้นตอนในการกำหนดน้ำหนักบนล้อรถ ทั้งด้านในและด้านนอกอย่างสมดุล ซึ่งความสมดุลของล้อรถดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้จากสภาพการขับขี่ เช่น เบียดชนขอบถนน ตกหลุม หรือกระแทกบนวัสดุบนถนน ล้อรถที่ไม่ได้สมดุลจะก่อให้เกิดอาการพวงมาลัยสั่นขณะขับขี่ และมีประสิทธิภาพในการเกาะถนนลดลง การถ่วงล้อที่ได้สมดุลจะช่วยให้การขับขี่รถเป็นไปด้วยความนุ่มนวล และยางสึกอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น ตลอดจนยืดอายุการทำงานของสปริง และโช้คอัพ
การสลับตำแหน่งยาง
ยางรถยนต์จะเกิดการสึกหรอไม่เท่ากันทุกเส้น โดยมีสาเหตุมาจาก
• สภาพรถ | • สภาพผิวถนน | • ศูนย์ล้อ |
• การหักเลี้ยวของรถ | • การสูบลมยาง | • ตำแหน่งยาง |
• ลักษณะการขับขี่ | • ฤดูกาล |
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำแหน่งล้อหน้าจะเกิดการสึกผิดปกติของดอกยางง่ายที่สุด ดังนั้น เพื่อให้ยางมีอายุการใช้งานได้นาน ควรสลับตำแหน่งยาง อยู่เสมอ
(ยางเรเดียล ควรสลับตำแหน่งทุก 10,000 กม.)
ระบบเลี้ยวและศูนย์ล้อ
การตรวจสอบระบบเลี้ยวและศูนย์ล้อให้ถูกต้องอยู่เสมอ จะทำให้ยางสึกเรียบอายุยางยาวนาน ขับขี่สะดวกสบายและให้ประสิทธิภาพที่ดีในการขับเคลื่อน โดยปกติการตรวจสอบศูนย์ล้อ จะตรวจสอบทุก 4-6 เดือนหรือทุกครั้งที่เปลี่ยนยางหรือทุกครั้งที่สังเกตเห็นยางสึกหรอผิดปกติ ดังนั้นหากระบบเลี้ยว ศูนย์ล้อ หรือระบบช่วงล่างไม่ถูกต้องแล้วจะทำให้เกิดปัญหายางสึกผิดปกติ
การปะยาง
ข้อควรระวังในการปะซ่อมยาง
• ยางรถยนต์ที่ชำรุด เนื่องจากถูกตะปูตำ จะสามารถซ่อมแซมโดยปะยางได้เฉพาะในส่วนหน้ายาง
ที่สัมผัสกับถนนเท่านั้น ไม่ควรปะปะยางบริเวณแก้มยาง เนื่องจากมีการยืดหยุ่นอยู่ตลอดเวลา
ยางอาจแตกหรือระเบิดได้ง่าย
• ยางที่สามารถปะซ่อมได้ ควรมีความลึกของดอกไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิเมตร และแผลควรกว้างไม่เกิน
6 มิลลิเมตร
• ไม่ควรปะยางเกิน 2 ครั้ง บนยางเส้นเดียวกัน
• ไม่ควรปะยางทับหรือซ้อนรอยแผลเดิม